วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

แปลข่าว Smoothie Packaging to Stand Up in Frozen Foods


SMOOTHIE PACKAGING TO STAND UP IN FROZEN FOODS

Smoothie enthusiasts are in luck, because Inventure Foods, Inc. is introducing USDA certified-organic varieties of its top selling smoothie flavors: Strawberries Wild and Razzamatazz.

The two flavors of Jamba-at-Home are made with the USDA certified frozen berries and organic non-fat yogurt.

The organic smoothies will be in 8-oz packages. The packaging is 4-color, two-sided plastic “stand up” packaging that sits upright in the freezer case.

“This was by design to stand apart visually from most of the frozen fruit packaging that lays flat and to facilitate a ‘wall’ of color when three of four SKUs are places side by side in a set,” says Matthew Jackson, senior director at Lambert, Edwards, and Associates. “It’s equal part visual appeal and category awareness as the ‘blend at home’ smoothie category is still relatively new.”

The new smoothies are being shipped to grocery stores nationwide. Consumers can expect to find them in the frozen fruit aisle of their favorite store by the end of the month of August.

 
 
 
 
 สำหรับคนที่ชื่นชอบน้ำปั่น Smoothie จะโชคดีเพราะ Inventure ฟู้ดส์อิงค์ จะแนะนำ พันธุ์ USDA ที่ได้รับการรับรองจาก อินทรีย์ ของรสชาติน้ำปั่น ยอดขายสูงสุดของ สตรอเบอร์รี่ และ Razzamatazz
ทั้งสอง รสชาติ ของ Jamba ที่ บ้านจะทำกับ กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา ได้รับการรับรอง และ ผลเบอร์รี่ แช่แข็งและ อินทรีย์ โยเกิร์ต ที่ไม่มีไขมัน
สมูทตี้อินทรีย์ จะอยู่ใน แพคเกจ 8 ออนซ์ บรรจุภัณฑ์เป็น 4 สี พลาสติก สองด้าน "ยืน ขึ้น" บรรจุภัณฑ์ ที่ตั้งอยู่ตรงช่องแช่แข็ง
จากส่วนใหญ่ของ บรรจุภัณฑ์ ผลไม้ แช่แข็ง ที่ วาง แบนและ เพื่ออำนวยความสะดวกของสีเมื่อ สามสี่ SKUs เป็นสถานที่เคียงข้างกัน " แมทธิว แจ็คสัน ผู้อำนวยการอาวุโส ที่ กล่าวว่า แลมเบิร์ด เอ็ดเวิร์ดส์ และผู้ร่วมงาน " มันเป็นส่วนหนึ่ง อุทธรณ์ภาพ ที่เท่าเทียมกัน และความตระหนักใน หมวดหมู่ เป็น
' ผสมผสาน ที่บ้าน ' หมวดหมู่ ปั่น ยังคง ค่อนข้างใหม่ สมูทตี้ ใหม่ที่ถูก ส่งไปยัง ร้านขายของชำ ทั่วประเทศ ผู้บริโภคสามารถ คาดหวังที่จะ พบสมูทตี้ในช่องแช่แข็ง ผลไม้ ของร้านค้า ที่ชื่นชอบ ของพวกเขา และจะพบผลิตภัณฑ์ของเราภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้
 
 
 
 
 
 
 
 
 

การออกแบบกราฟิก,การออกแบบบรรจุภัณฑ์, การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์

การออกแบบกราฟิก
        ความหมายของการออกแบบกราฟิก
เป็นลักษณะของการออกแบบพื้นผิว 2 มิติ  เพื่อเป็นสื่อกลางสำหรับการถ่ายทอดข้อความ
ความรู้สึกนึกคิด แลอารมณ์ จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งเพื่อให้เข้าใจและรู้เรื่องโดยใช้ประสาทตาในการรับรู้เป็นส่วนใหญ่
      ความสำคัญของการออกแบบงานกราฟิก
1. การออกแบบที่ดีต้องทำให้ข้อมูลที่กระจัดกระจายมีระเบียบมากขึ้น
2. ช่วยให้ระบบการถ่ายทอดข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วและชัดเจน
3. ช่วยสร้างสรรค์งานสัญลักษณ์ทางสังคม เพื่อการสื่อความหมายร่วมกัน
4. ช่วยพัฒนาระบบการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. ช่วยให้เกิดจินตภาพ เกิดมีแนวคิดสิ่งใหม่อยู่เสมอ
6. ส่งเสริมให้เกิดค่านิยมทางความงาม 

ที่มาของภาพ http://www.mew6.com/composer/package/package_17.php

 

ประโยชน์ของบรรจุภัณฑ์

1. การป้องกัน (Protection) เช่น กันน้ำ กันความชื้น กันแสง กันแก๊ส เมื่ออุณหภูมิสูงหรือต่ำ ด้านทานมิให้ผลิตภัณฑ์แปรสภาพไม่แต่ไม่ฉีกขาดง่าย ปกป้องให้สินค้าอยู่ในสภาพใหม่สดอยู่ในสภาวะแวดล้อมของตลาดได้ในวงจรยาว โดยไม่แปรสภาพขนานแท้และดั้งเดิม

 

2. การจัดจำหน่ายและการกระจาย (Distribution) เหมาะสมต่อพฤติกรรมการซื้อขายเอื้ออำนวยการแยกขาย ส่งต่อ การตั้งโชว์ การกระจาย การส่งเสริมจูงใจในตัว ทนต่อการขนย้าย ขนส่ง และการคลังสินค้า ด้วยต้นทุนสมเหตุสมผล ไม่เกิดรอยขูดขีด / ชำรุด ตั้งแต่จุดผลิตและบรรจุจนถึงมือผู้ซื้อ / ผู้ใช้ / ผู้บริโภค ทนทานต่อการเก็บไว้นานได้ 

3. การส่งเสริมการจำหน่าย (Promotion) เพื่อยึดพื้นที่แสดงจุดเด่น โชว์ตัวเองได้อย่างสะดุดตา สามารถระบุแจ้งเงื่อนไข แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอผลประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อจูงใจผู้บริโภค เมื่อต้องการจัดรายการเพื่อเสริมพลังการแข่งขัน ก็สามารถเปลี่ยนแปลงและจัดทำได้สะดวก ควบคุมได้และประหยัด

 

4. การบรรจุภัณฑ์กลมกลืนกับสินค้า และกรรมวิธีการบรรจุ (Packaging) เหมาะสมทั้งในแง่การออกแบบ และเพื่อให้มีโครงสร้างเข้ากับขบวนการบรรจุ และเอื้ออำนวยความสะดวกในการหิ้ว – ถือกลับบ้าน ตลอดจนการใช้ได้กับเครื่องมือการบรรจุที่มีอยู่แล้ว หรือจัดหามาได้ ด้วยอัตราความเร็วในการผลิตที่ต้องการ ต้นทุนการบรรจุภัณฑ์ต่ำหรือสมเหตุสมผล ส่งเสริมจรรยาบรรณและรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ก่อให้เกิดมลพิษและอยู่ในทำนองคลองธรรมถูกต้องตามกฎหมายและพระราชบัญญัติต่าง ๆ

 


5. เพิ่มยอดขาย เนื่องจากในตลาดมีสินค้าและคู่แข่งเพิ่มขึ้นตลอดเวลา หากบรรจุภัณฑ์ของสินค้าใดได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี จะสามารถดึงดูดตา ดึงดูดใจผู้บริโภคและก่อให้เกิดการซื้อในที่สุด รวมทั้งการลดต้นทุนการผลิต

ที่มาของข้อมูล http://www.mew6.com/composer/package/package_17.php

 

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ 

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ อาจแบ่งประเภทลักษณะการออกแบบได้ 2 ประเภทคือ
•  การออกแบบลักษณะโครงสร้าง
•  การออกแบบกราฟฟิค
การออกแบบลักษณะโครงสร้าง หมายถึง การกำหนดรูปลักษณะ โครงสร้างวัสดุที่ใช้ตลอดจนกรรมวิธีการผลิต การบรรจุ ตลออดจนการขนส่งเก็บรักษาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์นับตั้งแต่จุดผลิตจนถึงมือผู้บริโภค
การออกแบบกราฟฟิค หมายถึง การสร้างสรรค์ลักษณะส่วนประกอบภายนอกของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถสื่อสาร สื่อความหมาย ความเข้าใจ (To Communicate) ในอันที่จะให้ผลทางด้านจิตวิทยา (Psychological Effects) ต่อผู้บริโภค และอาศัยหลักศิลปะการจัดภาพให้เกิดความประสานกลมกลืนกันอย่างสวยงาม ตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้

1. กระบวนการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์

ในกระบวนการออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ ผู้วิจัยต้องอาศัยความรู้และข้อมูลจากหลายด้านการอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ชำนาญการบรรจุ (PACKAGING SPECIALISTS) หลาย ๆ ฝ่ายมาร่วมปรึกษาและพิจารณาตัดสินใจ ซึ่งอิงทฤษฏีของ ปุ่น คงเจริญเกียรติและสมพร คงเจริญเกียรติ (2542:71-83) โดยที่ผู้วิจัยจะกระทำหน้าที่เป็นผู้สร้างภาพพจน์ (THE IMAGERY MAKER) จากข้อมูลต่าง ๆ ให้ปรากฏเป็นรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์จริง ลำดับขั้นตอนของการดำเนินงาน นับตั้งแต่ตอนเริ่มต้น จนกระทั่งสิ้นสุดจนได้ผลงานออกมาดังต่อไปนี้ เช่น
 
1. กำหนดนโยบายหรือวางแผนยุทธศาสตร์ (POLICY PERMULATION OR ATRATEGIC PLANNING) เช่น ตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการผลิต เงินทุนงบประมาณ การจัดการ และการกำหนดสถานะ (SITUATION) ของบรรจุภัณฑ์ ในส่วนนี้ทางบริษัทแด่ชีวิตจะเป็นผู้กำหนด
 
2. การศึกษาและการวิจัยเบื้องต้น (PRELIMINARY RESEARCH) ได้แก่ การศึกษาข้อมูลหลักการทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิศวกรรมทางการผลิต ตลอดจนการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องสอดคล้องกันกับการออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์
 
3. การศึกษาถึงความเป็นไปได้ของบรรจุภัณฑ์ ( FEASIBILITY STUDY ) เมื่อได้ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ แล้วก็เริ่มศึกษาความเป็นไปได้ของบรรจุภัณฑ์ด้วยการสเก็ต (SKETCH DESING) ภาพ แสดงถึงรูปร่างลักษณะ และส่วนประกอบของโครงสร้าง 2-3 มิติ หรืออาจใช้วิธีการอื่น ๆ ขึ้นรูปเป็นลักษณะ 3 มิติ ก็สามารถกระทำได้ ในขั้นตอนนี้จึงเป็นการเสนอแนวความคิดสร้างสรรค์ขั้นต้นหลาย ๆ แบบ (PRELIMINARY IDFAS) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในเทคนิควิธีการบรรจุ และการคำนวณเบื้องต้น ตลอดจนเงินทุนงบประมาณดำเนินการ และเพื่อการพิจารณาคัดเลือกแบบร่างไว้เพื่อพัฒนาให้สมบูรณ์ในขั้นตอนต่อไป
 
4. การพัฒนาและแก้ไขแบบ ( DESIGN REFINEMENT ) ในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบจะต้องขยายรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ (DETAILED DESIGN ) ของแบบร่างให้ทราบอย่างละเอียดโดยเตรียมเอกสารหรือข้อมูลประกอบ มีการกำหนดเทคนิคและวิธีการผลิต การบรรจุ วัสดุ การประมาณราคา ตลอดจนการทดสอบทดลองบรรจุ เพื่อหารูปร่าง รูปทรงหรือส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการด้วยการสร้างรูปจำลองง่าย ๆ (MOCK UP) ขึ้นมา ดังนั้นผู้ออกแบบจึงต้องจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อย่างละเอียดรอบคอบเพื่อการนำเสนอ (PRESENTATION) ต่อลูกค้าและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องให้เกิดความเข้าใจเพื่อพิจารณาให้ความคิดเห็นสนับสนุนยอมรับหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมในรายละเอียดที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเช่น การทำแบบจำลองโครงสร้างเพื่อศึกษาถึงวิธีการบรรจุ และหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ก่อนการสร้างแบบเหมือนจริง
 
5. การพัฒนาต้นแบบจริง (PROTOTYPE DEVELOPMENT) เมื่อแบบโครงสร้างได้รับการแก้ไขและพัฒนา ผ่านการยอมรับแล้ว ลำดับต่อมาต้องทำหน้าที่เขียนแบบ (MECHANICAL DRAWING) เพื่อกำหนดขนาด รูปร่าง และสัดส่วนจริงด้วยการเขียนภาพประกอบแสดงรายละเอียดของรูปแบบแปลน (PLAN) รูปด้านต่าง ๆ (ELEVATIONS) ทัศนียภาพ (PERSPECTIVE) หรือภาพแสดงการประกอบ (ASSEMBLY) ของส่วนประกอบต่าง ๆมีการกำหนดมาตราส่วน (SCALE) บอกชนิดและประเภทวัสดุที่ใช้มีข้อความ คำสั่ง ที่สื่อสารความเข้าใจกันได้ในขบวนการผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ของจริง แต่การที่จะได้มาซึ่งรายละเอียดเพื่อนำไปผลิตจริงดังกล่าวนั้น ผู้ออกแบบจะต้องสร้างต้นแบบจำลองที่สมบูรณ์ (PROTOTYPE) ขึ้นมาก่อนเพื่อวิเคราะห์ (ANALYSIS) โครงสร้างและจำแนกแยกแยะส่วนประกอบต่าง ๆ ออกมาศึกษา ดังนั้น PROTOTYPE ที่จัดทำขึ้นมาในขั้นนี้จึงควรสร้างด้วยวัสดุที่สามารถให้ลักษณะ และรายละเอียดใกล้เคียงกับบรรจุภัณฑ์ของจริงให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้เช่นอาจจะทำด้วยปูนพลาสเตอร์ ดินเหนียว กระดาษ ฯลฯ และในขั้นนี้ การทดลองออกแบบกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์ ควรได้รับการพิจารณมร่วมกันอย่างใกล้ชิคกับลักษณะของโครงสร้างเพื่อสามารถนำผลงานในขั้นนี้มาคัดเลือกพิจารณาความมีประสิทธภาพของรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์
 
6. การผลิตจริง (production) สำหรับขั้นตอนนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่รับผิดชอบของฝ่ายผลิตในโรงงานที่จะต้องดำเนินการตามแบบแปลนที่นักออกแบบให้ไว้ ซึ่งทางฝ่ายผลิตจะต้องจัดเตรียมแบบแม่พิมพ์ของบรรจุภัณฑ์ให้เป็นไปตามกำหนด และจะต้องสร้างบรรจุภัณฑ์จริงออกมาจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นตัวอย่าง (PRE- PRODUCTION PROTOTYPES) สำหรับการทดสอบทดลองและวิเคราะห์เป็นครั้งสุดท้าย หากพบว่ามีข้อบกพร่องควรรีบดำเนินการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงดำเนินการผลิตเพื่อนำไปบรรจุและจำหน่ายในลำดับต่อไป

 

ที่มาของภาพ www.entrustidea.com

 
การออกแบบกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์ 

การออกแบบกราฟฟิก บรรจุภัณฑ์เป็นตัวแทนของกระบวนการส่งเสริมการขายทางด้านการตลาด ณ จุดขายที่สามารถจับต้องได้ ทำหน้าที่เป็นสื่อโฆษณาได้อย่างดีเยี่ยม ณ จุดขาย รูปทรงของบรรจุภัณฑ์เปรียบได้กับตัวโครงร่างกายของมนุษย์ สีที่ออกแบบบรรจุภัณฑ์เปรียบเสมือนผิวหนังของมนุษย์ คำบรรยายบนบรรจุภัณฑ์เปรียบได้กับปากที่กล่าวแจ้งแถลงสรรพคุณ การออกแบบอาจจะเขียนเป็นสมการอย่างง่าย ๆ ได้ดังนี้ การออกแบบ = คำบรรยาย + สัญลักษณ์ + ภาพพจน์ เนื่องจากการออกแบบภาพพจน์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งซึ่งอาจแสดงออกได้ด้วย จุด เส้น สี รูปวาด และรูปถ่าย ผสมผสานกันออกมาเป็นพาณิชย์ศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ ด้วยหลักการง่าย ๆ 4 ประการ คือ SAFE ซึ่งมีความหมายว่า 
S
A
F
E
= 
=
=
=
Simple
Aesthetic
Function
Economic
เข้าใจง่ายสบายตา 
มีความสวยงาม ชวนมอง 
ใช้งานได้ง่าย สะดวก ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
การออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ยังมีบทบาทช่วยเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ทางด้านการตลาด ดังนี้
ตามที่ได้อธิบายแล้วว่าบรรจุภัณฑ์มีบทบาทในส่วนผสมการตลาดในการทำหน้าที่เสริมกิจกรรมการตลาดในแต่ละขั้นตอนของวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ รายละเอียดปลีกย่อยในการช่วยเสริมกิจกรรมต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้
 
1. การใช้โฆษณา บรรจุภัณฑ์จำต้องออกแบบให้จำได้ง่าย ณ จุดขาย หลังจากกลุ่มเป้าหมายได้เห็นหรือฟังโฆษณามาแล้ว ในกลยุทธ์นี้บรรจุภัณฑ์มักจะต้องเด่นกว่าคู่แข่งขันหรือมีกราฟฟิกที่สะดุดตาโดยไม่ต้องให้กลุ่มเป้าหมายมาองหา ณ จุดขาย
 
2. การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย ช่องทางการจัดจำหน่ายที่เปลี่ยนแปลงไปอาจจำเป็นต้องมีการออกแบบปริมาณสินค้าต่อหน่วยขนส่งใหม่เพื่อลดค่าใช้จ่าย หรือมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับจุดขายใหม่ การเพิ่มหิ้ง ณ จุดขายที่เรียกว่า POP (Point of Purchase) อาจมีส่วนช่วยส่งเสริมการขายเมื่อเปิดช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่
 
3. เจาะตลาดใหม่ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ในการเจาะตลาดใหม่หรือกลุ่มเป้าหมายใหม่ ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนตราสินค้าใหม่อีกด้วย
 
4. ผลิตภัณฑ์ใหม่ ถ้าผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าเก่า เช่น เปลี่ยนจากการขายกล้วยตากแบบเก่า เพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่มาเป็นกล้วยตากชุบน้ำผึ้ง อาจใช้บรรจุภัณฑ์เก่าแต่เปลี่ยนสีใหม่เพื่อแสดงความสัมพันธ์กับสินค้าเดิมหรืออาจใช้เทคนิคของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ยูนิฟอร์มดังจะกล่าวต่อไปในบทนี้ แต่ในกรณีที่เป็นสินค้าใหม่ถอดด้ามจำต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่หมด แต่อาจคงตราสินค้าและรูปแบบเดิมไว้เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มที่เคยเป็นลูกค้าประจำของสินค้าเดิม
 
5. การส่งเสริมการขาย จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ เพื่อเน้นให้ผู้บริโภคทราบว่ามีการเพิ่มปริมาณสินค้า การลดราคาสินค้า หรือการแถมสินค้า รายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ย่อมมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีความอยากซื้อมากขึ้น
 
6. การใช้ตราสินค้า เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเพื่อสร้างความทรงจำที่ดีต่อสินค้าบรรจุภัณฑ์ที่มีตราสินค้าใหม่ควรจะได้รับการออกแบบใหม่ด้วยการเน้นตราสินค้า รายละเอียดในเรื่องนี้จะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อตราสินค้า
 
 
       ที่มาของข้อมูล http://www.mew6.com/composer/package/package_9.php
 
 

ที่มาของภาพ  www.thaigoodview.com
 

 

 


 

ประเภทของบรรจุภัณฑ์

 


ประเภทของบรรจุภัณฑ์

ด้วยประเภทของบรรจุภัณฑ์ที่เราผลิต ที่มากถึงกว่า 100,000 ชนิด ทำให้เรามี
บรรจุภัณฑ์ที่ครอบคลุมทุกรูปแบบความต้องการของตลาด

   เมอิวะแพ็คซ์ใส่ใจทุกรายละเอียดและพร้อมเสมอในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของเรา ให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างครอบคลุม เราไม่หยุดยั้งที่จะคิดค้นเพื่อให้บรรจุภัณฑ์ของเราใช้ง่าย รูปลักษณ์เป็นที่ดึงดูด และยังสามารถสื่อไปยังผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ภายในได้อีกด้วย ปัจจุบัน เรามีสินค้าหลากหลายประเภทที่วางใจในบรรจุภัณฑ์ของเรา ตั้งแต่อาหาร ไปจนถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค

บรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร



Food

บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารจะถูกออกแบบให้สวยงามเหมาะสมกับประเภทของอาหารที่บรรจุภายใน เราใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อให้สามารถเก็บถนอมความสดอร่อยและคุณภาพของอาหารไว้ได้



บรรจุภัณฑ์สำหรับเวชภัณฑ์


Medical applications

บรรจุภัณฑ์ที่ใช้กับเวชภัณฑ์ของเรา ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับการจัดเก็บเวชภัณฑ์ที่ต้องการบรรจุภัณฑ์ที่มีความคงทน พกพาได้ง่าย ถูกสุขลักษณะ



บรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องสำอางค์


Sanitary applications
หนึ่งในความเชี่ยวชาญของเรา คือการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยและสะอาดสำหรับผลิตภัณฑ์ประทินผิวและผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเด็กอ่อน 
รวมถึงบรรจุภัณฑ์ของสินค้าเครื่องสำอางค์หลากหลายรูปแบบที่วางขายในท้องตลาด

บรรจุภัณฑ์สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค

Detergents

เมอิวะแพ็คซ์ เป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคต่างๆที่มีความบอบบาง เช่น สารกึ่งตัวนำ แผงวงจรอิเล็กทรอนิค 
โดยสินค้าหลักของเรา คือ บรรจุภัณฑ์ลามิเนตฟิล์มที่มีคุณสมบัติต้านไฟฟ้าสถิตย์และกันน้ำ


บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าเกษตร



Industrial and agricultural applications

เรามีบรรจุภัณฑ์หลากหลายรูปแบบที่สามารถรองรับสินค้าการเกษตรในแบบต่างๆ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ระบบซีลแบบเวฟ (Wave Seal )ซึ่งสามารถป้องกันแมลงได้เป็นอย่างดีในขณะที่ยังคงคุณภาพของสินค้าเอาไว้ได้ด้วย



ที่มา http://www.mpx-group.jp/th/examples/

จัดทำโดย kittisak butwong